วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นำเสนอแผนปฏิบัติงานปะจำปี 2559 กศน.ตำบลทุ่งฝาย

แผนปฏิบัติงานปะจำปี 2559  กศน.ตำบลทุ่งฝาย


ส่วนที่ 1 บริบทชุมชน

แผนที่ตำบลทุ่งฝาย

1)สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)
        1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
           ตำบลทุ่งฝาย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร (8,666 ไร่) คิดเป็นเนื้อที่ร้อยละ 3.46
ของพื้นที่อำเภอเมืองลำปางอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองลำปางประมาณ 12 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัด มีถนนสายลำปาง-แจ้ห่มตัดผ่านลำปางประมาณ 10-15 กิโลเมตร
           สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้าง มีความลาดเอียงจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ โดยส่วนบนของตำบล คือ หมู่ที่ 3,4,9และ10 และมีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญคือ แม่น้ำวัง ไหลผ่านทางทิศตะวันออกของตำบล
        2. อาณาเขตติดต่อ
           ทิศเหนือ – ติดต่อกับเขตตำบลนิคมพัฒนา
           ทิศใต้ – ติดต่อกับเขตตำบลต้นธงชัย
           ทิศตะวันออก – ติดต่อกับเขตตำบลบ้านเสด็จและตำบลพิชัย
           ทิศตะวันตก – ติดต่อกับเขตตำบลต้นธงชัยและตำบลบ้านเอื้อม
        3. ลักษณะทางการปกครอง
           ตำบลทุ่งฝายแบ่งเขตการปกครองตามลักษณะการปกครองท้องที่ ออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้
           หมู่ที่ 1 บ้านท่าส้มป่อย            หมู่ที่ 6 บ้านกลาง
           หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งฝาย                หมู่ที่ 7 บ้านนาป้อเหนือ
           หมู่ที่ 3 บ้านแพะหนองแดง        หมู่ที่ 8 บ้านต้นยาง
           หมู่ที่ 4 บ้านท่าโทก                หมู่ที่ 9 บ้านท่าโทกมงคลชัย
           หมู่ที่ 5 บ้านแม่ทะ                 หมู่ที่ 10 บ้านปงชัยนาป้อ
    2) สภาพทางสังคม – ประชากร
           1. ด้านประชากร ตำบลทุ่งฝายมีครัวเรือนอาศัย 2,845 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 7,973 คน แยกเป็นประชากรชาย 3,824 คน แยกเป็นประชากรหญิง 4,149 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 0.0025 คน/ตารางกิโลเมตร ดังนี้
            2. ด้านการศึกษา
             ตำบลทุ่งฝาย มีสถานศึกษาในระบบจำนวนทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งฝาย
 โรงเรียนบ้านท่าโทก
             ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลทุ่งฝาย จำนวน 1  แห่ง  (ในการกับดูแลของงานการศึกษาฯ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย)
             กศน.ตำบลทุ่งฝาย จำนวน 1 แห่ง สังกัด กศน.อำเภอเมืองลำปาง
           3. การสาธารณสุข
             - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองลำปาง
           4. การบริการพื้นฐาน
              - การไฟฟ้า
                การบริการไฟฟ้าในเขตตำบลทุ่งฝาย อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองลำปาง โดยปัจจุบันในทุกหมู่บ้านมีกระแสไฟฟ้าใช้ แต่ในพื้นที่บางส่วนที่อยู่ห่างไกลหรือในซอยก็มีการติดตั้งไฟกิ่ง(ไฟสาธารณะ)ส่องสว่างอย่างทั่วถึง
              - การประปา
                ระบบการประปาของตำบลทุ่งฝาย มีครบทุกหมู่บ้าน โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านเป็นผู้ดูแล จัดเก็บรายได้ และซ่อมบำรุงรักษา  
              - การคมนาคม
                การคมนาคมในตำบลและภายนอกตำบล อาศัยการคมนาคมทางบกเป็นหลัก ซึ่งมีทั้ง
ถนนลาดยาง (แอลฟัสท์ติก) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนแอลฟัสท์ติกคอนกรีต ถนนคอนกรีตเสริม
ไม้ไผ่ สำหรับเส้นทางสำคัญ ได้แก่
                - เส้นทางสายลำปาง-แจ้ห่ม ระยะทาง 53 กิโลเมตร
                - เส้นทางสายท่าโทก-ท่าส้มป่อย ระยะทาง 6 กิโลเมตร
 3) สภาพทางเศรษฐกิจ
          ผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในตำบลทุ่งฝาย คือ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า กระเทียม ถั่วลิสง
ถั่วเหลือง หญ้าแพงโกล่า เป็นต้น พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่มีคลองชลประมานไหลผ่าทำให้เกษตรสามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง
          1. อาชีพของประชำกรในตำบล
              - รับจ้าง ร้อยละ 12.98 หรือประมาณ 376 ครัวเรือน
              - พนักงานหน่วยงานเอกชน ร้อยละ 12.12 หรือประมาณ 353 ครัวเรือน
              - เกษตรกร ร้อยละ 60.31 หรือประมาณ 1,746 ครัวเรือน
              - รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.08 หรือประมาณ 291 ครัวเรือน
              - อื่นๆ ร้อยละ 4.51 หรือประมาณ 130 ครัวเรือน


          2. การท่องเที่ยว
              - บ้านแม่ทะ หมู่ 5 เป็นหมู่บ้านสินค้า OTOP คือ ขิม และระนาด เป็นเครื่องดนตรีไทยที่เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของตำบลทุ่งฝาย มีชาวบ้านหลายครัวเรือนประกอบอาชีพนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้วสืบต่อกันเป็นรุ่นต่อรุ่น
              - บ้านท่าส้มป่อย หมู่ 1 เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มธนาคารข้าว กลุ่มปุ๋ยหมัก กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่า กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มธนาคารประชาชน เป็นต้น ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ได้ได้รับรางวัลมากมาย อาทิเช่น รางวัลหมู่บ้านอยู่ดี มีสุข และหมู่บ้านแผ่นธรรม แผ่นดินทอง เป็นต้น
         3. ด้านอุตสาหกรรม
             โดยแบ่งเป็นประเภทอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนี้
             - อุตสาหกรรมผลิต/สีข้าว 10 ราย 
             - อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเคลือบดินเผา/เซรามิก 3 ราย 
             - อุตสาหกรรมผลิตเครื่องดนตรีไทย 12 ราย 
             - อุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่ม 3 ราย 
             - อุตสาหกรรมล้างดินขาว 5 ราย 
             - อุตสาหกรรมผลิตเส้นไหม 1 ราย 
อุตสาหกรรมทำขิม
             - อุตสาหกรรมผลิตสุราพื้นบ้าน 7 ราย 
             - ปํัั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ 1 ปั๊ม
             - อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์  SCC 1 แห่ง   


อุตสาหกรรมน้ำดื่ม


อุตสาหกรรมเซรามิค
 4. การค้าขาย
           ตำบลทุ่งฝาย มีตลาดบ้านท่าโทกเป็นศูนย์กลางการซื้อขายคือตลาดท่าโทก ส่วนในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะตลาดของหมู่บ้าน และมีร้านขายของชำ ร้านขายอาหารตามสั่ง และร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ


แม่ค้าขายอาหารในตลาดท่าโทก


ร้านก๋วยเต๊่ยวหน้าตาดท่าโทก
















 4) แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญา ตำบลทุ่งฝาย
1.       ประเภทบุคคล ได้แก่
ภูปัญญาท้องถิ่น
ความรู้ความสามารถ
ที่อยู่
1. นายสุนทร  สำราญจิตต์
การทำเกษตรอินทรีย์
134/1 หมู่ 10 .ทุ่งฝาย
2. นายวัน  ปินตาสา
ช่างไม้
17 หมู่ 2 .ทุ่งฝาย
3. นายอุ๊ด  เครือเป็งกุล
จักสาน
105 หมู่ 9 .ทุ่งฝาย
4. นางฟองจันทร์  กาวิลานันท์
ยาสมุนไพร
68 หมู่ 3 .ทุ่งฝาย
5. นางศรีรัตน์  สง่ามั่งมูล
การทำอาหารพื้นเมือง
124 หมู่ 10 .ทุ่งฝาย
6. นายหลั่ง  สิงห์ไชย
ทำตุง/หล่อเทียน/โคมไฟ/โคมลอย
69 หมู่ 9 .ทุ่งฝาย
7. นายมานิตย์ ใสตัน
การทำขิม ระนาด
11 หมู่ 5 .ทุ่งฝาย
8. ท่านพระครูอุดม สิริทัต เจ้าอาวาส
การสอนธรรมมะ
วัดศรีภูมิมา หมู่ 1 .ทุ่งฝาย
9 นางสาวคณิต กันทะตั๋น 
การทำเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
178   หมู่ 1 .ทุ่งฝาย
2.       ประเภทองค์กร ได้แก่
ภาคีเครือข่าย
ความรู้ความสามารถ
ที่อยู่/ที่ตั้ง
1.องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย
อนุเคราะห์สถานที่/งบประมาณ
หมู่ 3 ตำบลทุ่งฝาย
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
อนุเคราะห์สถานที่/งบประมาณ
หมู่ 4 ตำบลทุ่งฝาย
3.โรงเรียนบ้านท่าโทก/โรงเรียนทุ่งฝาย
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
หมู่ 4 ตำบลทุ่งฝาย
ภาคีเครือข่าย
ความรู้ความสามารถ
ที่อยู่/ที่ตั้ง
4.สถานีตำรวจภูธรตำบลทุ่งฝาย
อนุเคราะห์วิทยากร
ตำบลทุ่งฝาย
5.ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรและเทคโนโลยี
อนุเคราะห์วิทยากร/งบประมาณ
อบต.ตำบลทุ่งฝาย
6.วัดท่าโทก/วัดวัดวนคีรีชัย/วัดศรีภูมิมา
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
หมู่ 4 ตำบลทุ่งฝาย
7.กลุ่มอสม./กลุ่มผู้สูงอายุฯ/กลุ่มอาชีพ ฯลฯ
ประชาสัมพันธ์ช่วยกิจกรรมกศน.
หมู่ 1-10 ตำบลทุ่งฝาย
3.ประเภทสถานที่ ได้แก่
ชื่อแหล่งเรียนรู้
ประเภทแหล่งเรียนรู้
ที่ตั้ง
1. วัดศรีภูมิมา/วัดวนคีรีชัย/วัดท่าโทก
โบราณสถาน
หมู่ 1,3,4  ตำบลทุ่งฝาย
3. หมู่บ้านทำเครื่องดนตรีไทย(ขิม)
กลุ่มอาชีพ
หมู่ 5  ตำบลทุ่งฝาย
4. บล็อกประสาน
วิสาหกิจชุมชน
124/4 หมู่ 3 ตำบลทุ่งฝาย
5. การทำเส้นขนมจีนโบราณ
บุคคล
283 หมู่ ตำบลทุ่งฝาย
6. การทำไม้ตะเกียบและไม้เสียบลูกชื้น
บุคคล
302  หมู่  ตำบลทุ่งฝาย
7. การทำแคบหมู
บุคคล
219  หมู่  ตำบลทุ่งฝาย
8. การทำข้าวเกรียบ  
บุคคล
121  หมู่  ตำบลทุ่งฝาย
9. กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักอัดเม็ด
วิสาหกิจชุมชน
หมู่ 1  ตำบลทุ่งฝาย
10.กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่า
วิสาหกิจชุมชน
หมู่ 1  ตำบลทุ่งฝาย
11.กลุ่มอบสมุนไพร
กลุ่มอาชีพ(ผู้สูงอายุ)
หมู่ 1  ตำบลทุ่งฝาย

5)ด้านสภาพสังคมและประเพณีและวัฒนธรรม
          สภาพสังคมส่วนใหญ่ของตำบลทุ่งฝาย ส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัวใหญ่มีวงศ์ษาคณาญาติปลูกบ้านอยู่ในระแวงเดียวกัน นับถือบรรพบุรุษ มีสัมมาคาระต่อผู้มีอายุมากกว่า ฯลฯ ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่ทิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ซึ่งทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมต่างที่สำคัญ ดังนี้
         1. ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13-16 เมษายน ของทุกปี โดยมีประเพณีที่สำคัญ คือ วันที่ 15 เมษายน มีการรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน และเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบุพการี และบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตของลูกหลาน และมีประเพณีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ก่อเจดีย์ทรายเพื่อปักตุงล้านนา มีการสงฆ์น้ำพระ เป็นต้น
         2. ประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากพัตร) ซึ่งจะตรงกับเดือนตุลาคมของทุกปีในสมัยก่อนจะมีการตานก๋วยสลากในทุกหมู่บ้านแต่ในปัจจุบันจะสลับหมุนเวียนกันประมาณ 2-3 หมู่บ้าน เพราะติดในเรื่องสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประเพณี มี อยู่ 2 วัน ประเพณีมีจุดประสงค์เพื่อให้ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ในหมู่บ้านหรือต่างตำบล ได้มาพบปะสังสรรค์กันถือเป็นการเชื่อมความสัมพันธไมตรีของชาวบ้าน และตานก๋วยสลากของให้ผู้ล่วงลับได้รับผลบุญที่เราอุทิศไปให้
         3. พิธีสืบชะตา ได้แก่ การสืบชะตาต่ออายุ สืบชะตาหมู่บ้าน มีจุดประสงค์เพื่อความเป็นสิริมงคล เสริมดวงชะตา ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากตัว และหมู่บ้าน ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์มาก
        4. พิธีกรรมฮ่วงข้าว และการฟ้อนผี เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อผีบรรพบุรุษ ที่ดูแลปกปักรักษาคนในหมู่บ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข และช่วยเหลือชาวบ้านที่เจ็บป่วย
        5. ประเพณีฟ้อนผี จะทำในเดือน 5 ของทุกปี คือในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เป็นการฟ้อนผีเพื่อสรรเสริญ และแสดงความเคารพต่อผีบรรพบุรุษที่ปกป้องดูแลรักษาชาวบ้านในตำบลทุ่งฝายจะทำกันทุกหมู่บ้าน ในวันนั้นจะมีเครือญาติที่ถือผีเดียวกันมารวมตัวกันเพื่อทำพิธีฟ้อนผีประจำปี

        ปัจจุบันนี้สภาพสังคมในตำบลทุ่งฝาย ยังคงยึดหลักตามประเพณีที่เคยทำกันมาแต่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่จากความทันสมัยทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตอยู่บ้างแต่ทุกคนก็ต้องปรับตัว แต่ความเจริญที่เข้ามาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียทำให้เกิดปัญหาต่างๆในสังคมมากมายโดยเฉพาะปัญหาเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยแรงงาน และรวมถึงวัยผู้สูงอายุ 

ประเพณีสงกรานต์



ประเพณีตานก๋วยสลาก
ประเพณีไหว้ผีบรรพบุรุณ(ผีมด ผีเม้ง)


ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมตำบล / แขวง (SWOT Analysis)
 กศน.ตำบลทุ่งฝาย ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี โดยได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2559 และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

 ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา


      วิสัยทัศน์  ภายในปี 2560 กศน.ตำบลทุ่งฝาย เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน
      ปรัชญา  การศึกษาพัฒนาคน พัฒนาสังคม
      เอกลักษณ์
          “กศน.ตำบล แหล่งเรียนคู่ชุมชน”
     อัตลักษณ์ 
          “ไฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
     คำขวัญ
           “กศน.ตำบล เพื่อนการเรียนรู้ เคียงคู่ประชาชน”













1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในตำบล (SWOT Analysis)
        1.1 จุดแข็งของตำบล/แขวง (Strengths - S)
             1. อยู่ใกล้ตัวเมืองลำปางเดินทางสะดวก
             2. ประชาชนมีอาชีพหลากหลาย  ได้แก่ เกษตรกร รับจ้าง ค้าขาย ฯลฯ
             3. เศรษฐกิจค่อนข้างดีเพราะมีถนนสายหลักลำปางแจ่ห้มตัดผ่าน และมีคลองชลประทาน
             4. มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ช่วยสนับสนุนในเรื่องต่างๆ
             5. ผู้นำมีความเข้มแข็งและประชาชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน
             6. ไม่มีผู้ตกเกณฑ์ จปฐ.
        1.2 จุดอ่อนของตำบล / แขวง (Weaknesses - W)
              1. ปัญหาครอบครัวแตกแยก
              2. ปัญหายาเสพติด
              3. ปัญหาหนี้สินภายในครัวเรือน
              4. ปัญหาค่านิยมที่ผิดในการดำเนินชีวิต
              5. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องหมอกควัน ปัญหาขยะในชุมชน
              7. ปัญหาการว่างงานของประชากรวัยแรงงาน
              6. ปัญหาผู้สูงอายุที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
              7. ปัญหาคนรุ่นหลังไม่สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน
   2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
        2.1 โอกาส (Opportunities - O)
              1. ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาตำบลจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
              2. หมู่บ้านและผู้นำในตำบลได้รับรางวัลในการพัฒนาหมู่บ้านของตนเองหลายหมู่บ้าน
        2.2 อุปสรรค/ความเสี่ยง (Threats - T)
             1. ปัญหาเศรษฐกิจในระดับประเทศ
             2. ปัญหาสังคมในยุคติจิดอล
             3. ปัญหาหนี้ภาคประชาชนทั้งในระบบและนอกระบบบ


ตารางวิเคราะห์ปัญหาตำบลทุ่งฝาย

สภาพปัญหา/ความต้องการ
สาเหตุของปัญหา
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.สภาพทางเศรษฐกิจ
- ปัญหาหนี้สินในระบบและนอกระบบ



- ปัญหาการว่างงานของประชากรวัยแรงงาน




- ใช้จ่ายไม่ประหยัด
- มีค่านิยมที่ผิด(วัตถุนิยม)
- ไม่มีการเก็บออมในครัวเรือน
- ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน
- สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การจ้างงานลดลง
- ขาดทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ


-โครงการหมู่บ้านสร้าสังคมแห่งการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อบรมการทำบัญชีครัวเรือน

- จัดอบรมสอนวิชาชีพระยะสั้น
สำหรับลุ่มผู้สนใจ/การต่อยอดอาชีพกลุ่มเดิม/กลุ่มช่างพื้นฐานเพื่อนำไปประกอบอาชีพ

2. ปัญหาด้านสังคม/วัฒนธรรมประเพณี
- ปัญหาเยาวชนมีบุตรโดยไม่พร้อม
เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด เหล้า การพนัน และ เกมส์คอมพิวเตอร์
-ปัญหาเรื่องเยาวชนรุ่นหลังไม่สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน

- ครอบครัวแตกแยก/ ขาดความอบอุ่น
- การเลี้ยงดูแบบวัตถุนิยม ยึดเอาค่านิยมของต่างชาติ


- จัดอบรมโครงการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 
- โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ในวัด
-โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

ด้านการศึกษา
- ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือ
- การไม่จบการศึกษาภาคบังคับในวัยผู้ใหญ่
- ปัญหาเด็กไม่จบการศึกษาภาคบังคับในระบบโรงเรียน
- เยาวชนขาดนิสัยใฝ่รู้ไฝ่เรียน ไม่มีนิสัยรักการอ่าน
- ในสมัยก่อนการศึกษายังเข้าไม่ถึง
- เด็กเกเรไม่มีความตั้งใจในการเล่าเรียน
- ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น
- มีครอบครัวและบุตรก่อนเรียนจบ
- ติดยาเสพติด /ติดคุก
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ
- รณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายเรียนศึกษาต่อ กศน.
-จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ด้านสาธารณสุข/สิ่งแวดล้อม
- ปัญหาสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ


- ปัญหาด้านการดื่มสุรา และบุหรี่ในวัยแรงงานและเยาวชน


-ปัญหาเรื่องหมอกควันและขยะในชุมชน


- ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งไม่มีคนดูแล
- ผู้สูงอายุขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง

- มีค่านิยมที่ผิด เป็นพฤติกรรมเลียนแบบ

- จัดอบรมโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อผู้สูงอายุ


-จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนโครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิิจพอเพียง
-จัดกิจกรรมรณรงค์การไม่เผาและการคัดแยกขยะ









 2. การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย
ปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ไข
กลุ่มคนที่ไม่รู้หนังสือ /กลุ่มภาวะการลืมหนังสือ


-ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุจะประสบในเรื่องปัญหาเรื่องความจำ สายตา ฯลฯ
-กลุ่มอายุประมาณ 40- 60 ปี ก็ไม่มีเวลามาเรียนเพราะต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว
-จัดทำโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือให้กับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น
ครูต้องจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้เช่น เข้าไปสอนที่บ้าน ที่สถานที่ใกล้บ้าน มีแสงสว่างเพียง มีสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น

กลุ่มวัยเด็ก
กลุ่มอายุ 1-14 ปี ส่วนใหญ่ยังอยู่ในความดูของพ่อแม่เรียนการศึกษาภาคบังคับ ปัญหาที่พบคือเด็กในวัยนี้กำลังเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้บางคนครอบครัวไม่ได้ดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดก็ทำให้เด็กเหล่านั้นหลงผิดไปได้ง่ายเพราะวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อยากลองกำลังติดเพื่อนทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง และเรียนไม่จบต้องเป็นปัญหาต่อเนื่อง
-จัดทำกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชนโครงการส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน เป็นต้น
กลุ่มเด็กและเยาวชน
 (วัยเรียน)
-กลุ่มอายุ 15-25 ปี เป็นกลุ่มนักศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบปัญหาในเรื่องการเรียนไม่จบการศึกษาในระบบด้วยสาเหตุต่างๆ แล้วจึงเข้ามาเรียนการศึกษานอกระบบฯเป็นจำนวนมาก
-กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองเพราะคิดว่าเรียนกศน.เรียนยังไงก็ได้ จึงทำให้การเรียนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
-ปัญหาครอบครัวแตกแยกเช่น พ่อแม่แยกทางกัน ปัญหาท้องในวัยเรียน ปัญหาติดเพื่อน ติดเกมออนไลท์ เป็นต้น

-จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษา
นอกระบฯ พ..2551
-จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน ICT  การเข้าค่ายวิชาการ ค่ายยุวกาชาด ลูกเสือ เป็นต้น
-จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.)
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมให้กับผู้เรียนตามหลักสูตรฯส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคมซึ่งต้องกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม
-การศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กลุ่มประชากรวัยแรงงาน ระหว่างอายุ 25-59 ปี

-กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่จะประสบปัญหาในเรื่องการไม่มีเวลาพัฒนาตนเองในด้านการศึกษา เพราะต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว
-จัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เพื่อไปส่งเสริมอาชีพ ให้กลุ่มเป้าหมายมีอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว และกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะต่างในการดำเนินชีวิต การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เป็นต้น
-การศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กลุ่มผู้สูงอายุ อายุ60 ปี ขึ้นไป

-ผู้สูงบางคนมีสุขภาพไม่แข็งแรง เป็นโรคซึมเศร้าเนื่องจากขาดการดูแลจากครอบครัว
-กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุมีน้อยเกินไป
-จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตด้านการดูแลสุขภาพอนามัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
-จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และมีกิจกรรมทำอาจจะทำเป็น
กลุ่มหรือเป็นบุคคลก็ได้ 
กลุ่มคนพิการ
-ปัญหาด้านร่างกายที่พิการไม่สามรถช่วยเหลือตนเองได้เหมือคนปกติ
-ปัญหาด้านสติปัญญา ไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนคนปกติ
-การยอมรับทางสังคมในเรื่องการศึกษายังมีไม่มากเท่าที่ควรเพราะครอบครัวคิดว่าพิการไม่ต้องเรียนเสียเวลา
-คนพิการขาดความมั่นใจในการเรียน ในการใช้ชีวิตในสังคม ทำให้คนพิการชอบเก็บตัวเงียบอยู่ในบ้าน
-จัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องและกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยมีครูคนพิการเป็นคนจัดการเรียนการสอน แบบกึ่งโฮมสคูลโดยทำงานร่วมกับครูกศน.ตำบลในพื้นที่

   ส่วนที่ 3 ตารางแผนปฏิบัติงานประจำปี 2559      

         เมื่อเก็บรวมข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แล้วครูกศน.ตำบลได้คัดเลือกบ้านปงชัยนาป้อ หมู่ 10 ตำบลทุ่งฝาย ที่กำลังประสบปัญหาตามที่ได้วิเคราะห์ SWOT ได้จึงได้คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมาย คือ บ้านปงชัยนาป้อ หมู่ 10 เป็นหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในปีงบประมาณ 2559 จึงได้เข้าร่วมประชาคมหมู่บ้านร่วมกับผู้นำและประชาชนผลจากการประชาคมจึงได้แผนงานโครงการ ดังนี้





บัญชีงานโครงการตามแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2559

ที่
ชื่องาน/โครงการ/ชื่อกิจกรรม
รหัสบัญชี
เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
งบประมาณ
ห้วงระยะเวลา
หมายเหตุ
(คน)
หมู่ที่
ตำบล
อำเภอ
(บาท)
ดำเนินการ

1
กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมการรู้หนังสือ

5
1 ถึง10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2,750
ม.ค.- มิ.ย. 59

2
การศึกษาขั้นพื้นฐาน









ประถมศึกษา

2
1 ถึง10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
1900



มัธยมศึกษาตอนต้น

38
1 ถึง10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
43700



มัธยมศึกษาตอนปลาย

49
1 ถึง10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
56350



รวม ( 1 เทอม )

89



101950



( 2 เทอม )

178



203,900
ต.ค.58- ก.ย. 59

3
การศึกษาต่อเนื่อง









2.1 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน








(1) หลักสูตรระยะสั้น (ไม่เกิน 30 ชม.)งบพัฒนาสังคมฯ









การทำขนมจีบซาลาปา 15 ชม.

16
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
3000
 ม.ค.- มี.ค. 59
ค่าวิทยากร

การทำน้ำเต้าหู้กับปลาท่องโก๋ 15 ชม.

16
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
3000
 ม.ค.- มี.ค. 59
ค่าวิทยากร

การทำขนมเทียแก้วกับสาคูไส้หมู 15 ชม.

16
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
3000
 ม.ค.- มี.ค. 59
ค่าวิทยากร

รวม

48



9000



(2) หลักสูตรช่างพื้นฐาน(ช่างไม้ทำฟอร์นิเจอร์)

23
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
13000
  เม.ย.-มิ.ย. 59


(3) หลักสูตรพัฒนาอาชีพ (ต่อยอดอาชีพเดิม)การทำตุงล้านนา

23
หมู่ 1
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
13000
  เม.ย.-มิ.ย. 59


รวม

46



26000



รวมทั้งหมด

94



35000



2.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 









(1) กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตโครงอบรมเยาวชนคนดีวิถีล้านนา

20
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2080
   ต.ค.-ธ.ค. 59


(2) โครงการจัดหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ

20
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2080
 .ค.-ธ.ค. 59


(3) โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

16
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
1664
 .ค.-ธ.ค. 59


รวม

56



5824



2.3 การศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง








โครงการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ

18
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
14580
  .ค.-ธ.ค. 59


พอเพียงด้วยกระบวนการบัญชึครัวเรือน









2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน









 โครงการหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

2
หมู่ 10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
1620
  ม.ค.- มี.ค. 59


2.5 การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม









กิจกรรมการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

20
1 ถึง10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
5800
 ม.ค.- มี.ค. 59 


รวม

40



22000


4
การศึกษาตามอัธยาศัย









(1) โครงการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนในตำบล

60
1,5
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2000
 ม.ค.- มิ.ย. 59


(2) โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน (ในวัด

60
1
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
1000
  ม.ค.- มี.ค. 59


 ในสถานประกอบการ)









(3) โครงการส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน

1400
2,4,8,9,10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง

 ต.ค.58- ก.ย. 59
ไม่มีงบฯ

(4) โครงการบรรณสัญจร (Book Voyage II)

100
1-10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง

 ต.ค.58- มิ.ย. 59
ไม่มีงบฯ

(5) โครงการชุมชนรักการอ่าน

60
10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2000
 ม.ค.- มี.ค. 59


(6) โครงการจัดทำฐานข้อมูล กศน.ตำบล

120
3
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2000
  .ค.-ธ.ค. 59


(7) กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

60
10
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2000
 .ค.58-ก.ย. 59


(8) อื่นๆ ระบุ หนังสือพิมพ์ตำบล

240
3
ทุ่งฝาย
เมืองลำปาง
2400
 .ค.58-ก.ย. 59


รวม

2128



11400


5
โครงการตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น









(1) โครงการกีฬา

90



51600
 ม.ค.- มิ.ย. 59


(2) โครงการติวเข้มเต็มความรู้

40



5800
 ม.ค.- มิ.ย. 59


(3) โครงการสอนภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

40



5800
 ม.ค.- มิ.ย. 59


(4) โครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านอาเซียนศึกษา

40



5800
 ม.ค.- มิ.ย. 59


(5) โครงการลูกเสือ กศน.

90



51600
 ม.ค.- มิ.ย. 59


(6) โครงการอาสายุวกาชาด กศน.

90



51600
 ม.ค.- มิ.ย. 59


รวม

400



195400
 ม.ค.- มิ.ย. 59








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น