รายงานบันทึกหลังสอนครั้งที่ 16 วันที่ 30 สิงหาคม 2558
ณ กศน.ตำบลทุ่งฝาย
เช้าวันอาทิตย์เป็นวันที่ครูในระบบเขาปิดกันแต่ครูนอกระบบอย่างเราวันอาทิต์ถือว่าเป็นวันที่จัดการเรียนการสอนที่ดีที่สุดเพราะสะดวกกับผู้เรียนมากเพราะวันอาทิตย์เป็นวันหยุดของใครหลายๆคนครูจึงต้องยึดวันนี้เป็นพบกลุ่มโดยปริยายนั่นเองแต่ถ้าจะถามข้าพเจ้าว่าเหนื่อยและท้อกับการเป็นครูกศน.บ้างไหมคำตอบก็คือมันเลยจุดๆนั้นมาแล้วคำว่าท้ออาจจะมีบ้างแต่ไม่เคยถอยแม้สักครั้งก็มีบ้างอิจฉาที่เพื่อนรุ่นเดียวกันได้เป็นข้าราชการครูในระบบดูเขาสบายจังเลยเคยคิดน้อยใจตอนหลายปีก่อนแต่ตอนนี้ไม่คิดแล้วคะเพราะเรารู้สึกว่างานที่เราทำมันมีประโยชน์มากมายต่อประชาชนถึงแม้จะไม่ได้เป็นข้าราชการแต่เราก็ทำงานให้กับพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกันคนเราเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องทำคุณประโยชน์ให้บ้านเมืองถึงจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์คุณงามความดีต่างหากที่จะอยู่กับเราตลอดไปพยามคิดแบบนี้เสมอแล้วใจเราจะเป็นสุขเหมือนคำกล่วที่ว่า"สุขใดจะสุขเท่าผู้ให้นั่นไม่มี"(นอกเรื่องนิดหน่อยคะ) เริ่มต้นการพบกลุ่มในวันนี้ครูได้จัดการเรียนการสอนระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้
1. ระดับประถม มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2 คน มาเรียน 2 คน
2. ระดับม.ปลาย มีนักศึกษาทั้งหมด 57 คน มาเรียน 42 คน ขาดเรียน 15 คน
หมายเหตุ:นักศึกษาที่ขาดเรียนครูได้ติดต่อแล้วพบว่าไม่ประสงค์ที่จะเรียนแล้วบางคนก็ไปเรียนต่อในระบบครูได้ให้มาทำเรื่องลาออกให้เรียบร้อย จำนวน 3คน ติดภารกิจงานประจำที่ต่างจังหวัด จำนวน 5 คนและที่มาเรียนบ้างแแล้วก็หายไปติดต่อไม่ได้และที่ไม่ส่งงาน รวมจำนวน 7 คน
วันนี้ในชั่วโมงกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ ONIE MODEL ยกตัวอย่าง รายวิชาทักษะการขยายอาชีพ (อช31002) ระดับ ม.ปลาย ในหัวข้อ บัญชีธุรกิจ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่
1 ขั้นกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้
(O-Orientation)
1.ครูและผู้เรียนร่วมกับสนทนาเกี่ยวกับการทำบัญชีในการประกอบอาชีพของแต่ละคน
2.ครูและผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการจัดทำบัญชีที่ดีของอาชีพของผู้ เรียนที่ประสบความสำเร็จ
ขั้นตอนที่
2 การแสวงหาความรู้
(N=New ways of learning)
1.ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มให้ทำใบงานในหัวเรื่องการจัดการทำบัญชีธุรกิจ
|
2. ครูให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากหนังสือแบบเรียนวิชาทักษะการขยายอาชีพ
3.
ส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
4.
ครูและผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในแต่ละหัวข้อ
ขั้นตอนที่
3 การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้
(l=lmplementation)
1.ครูให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์การนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างไร
-บัญชีรับรับ-จ่าย
-บัญชีหนี้สิน
-บัญชีการเงิน
-บัญชีสินทรัพย์
ฯลฯ
ขั้นตอนที่
4 การประเมินผล
(E=Evaluation)
1.ครูให้ผู้เรียนส่งแผนการทำบัญชีธุรกิจ
|
2.มอบหมายกรต.ให้ผู้เรียนไปทำบัญชีรับรับ-จ่าย
ในการประอบอาชีพในรอบ 1 สัปดาห์ |
หลังจากนั้นครูได้ให้ผู้เรียนได้เข้ามาเช็ควิชาที่ลงทะเบียนในโปรแกรมระบบออนไลน์เพื่อลดความผิดพลาดในการเข้าสอบในรายวิชาบังคับเพราะครูได้บอกวิชาที่ลงทะเบียนเรียนตั้งแต่วันปฐมนิเทศนักศึกษาบางคนอาจจะลืมเพราะรายวิชาค่อนข้างมากและนักศึกษาที่ยังทำแฟ้มสะสมงาน กรต.และรูปเล่มโครงงานไม่เสร็จให้นั่งทำให้เสร็จคะ
|
นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่ม |
|
นักศึกษาเข้ามาเช็ควิชาที่ลงทะเบียนในโปรแกรมออนไลน์ |
|
นักศึกษานั่งทำแฟ้มสะสมงาน/โครงงานฯลฯ |
ช่วงบ่ายให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมพัฒนากศน.ให้เป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีการจัดทำป้ายกศน.ตำบล ทำรั้วล้อมต้นไม้ จัดทำป้ายสุภาษิตติดต้นไม้ จัดบอร์ดต่างๆภายในห้องเรียนกิจกรรมนี้นักศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติเองทั้งหมดภูมิใจมากคะที่นักศึกษามีความสามัคคีกันช่วยกันพัฒนกศน.ตำบลให้สวยงาม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะเอื้อเฟื้อมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันคะ
ภาพกิจกรรมการพัฒนากศน.ตำบล
สรุปกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
3 ห่วง
1. ความพอประมาณ คือ ครูได้แนะนำในเรื่องการทำกิจกรรมทุกอย่างในการทำกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะกิจกรรมกพช.โครงการการพัฒนากศน.ให้พยายามลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดอะไรที่สามารถนำมาทำใหม่ได้ให้เอามาทำ ยกตัวอย่างเช่น ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการใช้วัสดุธรรมชาติ วัสดุที่เหลือใช้นำมาประดิษฐ์สิ่งของต่างๆเพื่อนำมาจัดกศน.ตำบลให้สวยงาม เช่น การจัดทำป้ายก็นำไม้ที่มีอยู่แล้วไม่ได้ไปตัดต้นไม้มาทำส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็นำมาจากบ้านเพื่อนที่เป็นช่างอะไรที่ประหยัดได้ก็ให้ประหยัดไว้ก่อน ส่วนรั้วล้อมต้นไม้และชั้นวางถุงขยะก็ใช้ไม่ไผ่ที่มีในชุมชนไม่ได้ซื้อมาเช่นกัน และป้ายสุภาษิตก็ได้ไปขอไม้เศษที่โรงงานทำไม้ในหมู่บ้านมาทำคะ
2. ความมีเหตุผล คือ ครูได้สอนเรื่องการมีเหตุผลในการทำงานทุกอย่างที่ครูได้มอบหมายไปเช่นการทำโครงงานต่างๆให้ผู้เรียนไตร่ตรองให้ดีถึงเหตุผลที่เราจัดทำโครงงานในแต่ละชิ้นงานนั้นๆ และการที่เราได้ร่วมพูดคุยวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมกพช.การตำบลพัฒนากศน.เพื่ออะไรและมีผลดีอย่างไร ให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะหืผลดี ผลเสีย และการวางแผนในการทำงานเพื่อลดเวลาในการทำงานและฝึกการคิดที่เป็นระบบคะ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเองทุกขั้นตอนไม่ว่าจะการทำแฟ้มสะสมงาน กรต. รูปเล่มรายงาน โครงาน/ชิ้นงาน ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองทั้งหมดทำให้ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกันในเรื่องการบริหารจัดการการทำงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ เมื่อทำงานใดๆสำเร็จแล้วก็ตามก็จะเกิดความภูมิใจและมั่นใจในการจะทำสิ่งที่ดีๆต่อไปคะรวมไปถึงภูมิคุ้มกันในเรื่องของความมั่นคงในจิตใจที่จะสามารถควบคุมตนเองไม่ให้เข้าไปยุ่งกับเสพติดได้คะ
2 เงื่อนไข
- เงื่อนไขความรู้ คือ ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเองอย่างแท้จริงมันจึงเป็นความรู้ที่ถาวรฝังรากลึกไม่มีทางลืมเพราะเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยเฉพาะการทำโครงงานและชิ้นงานที่ผู้เรียนได้คิดขึ้นมาด้วยตนเองคะ
- เงื่อนไขความมีคุณธรรม คือ การที่ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่มโดยเฉพาะการทำกิจกรรมกพช.
การพัฒนากศน.ตำบลต้องใช้ความมีคุณธรรมอย่างมากในการทำงานซึ่งเป็นงานสาธารณะต้องอาศัยความมีคุณธรรมที่สำคัญคือความไม่เห็นแก่ตัว คือ ต้องเห็นงานส่วนร่วมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน ไม่เอาเปรียบเพื่อน มีน้ำใจ คุณธรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดคำว่า"สามคคีคือพลัง"ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีคะ